วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 1การเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์

บทที่ 1การเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์


1.1 พัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย


1.1 พัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญงอกงาม ทั้งในโครงสร้าง (Structure) และแบบแผน
 (Pattern) ของอินทรีย์ทุกส่วน มนุษย์ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนของพัฒนาการตลอดชีวิต 
ดังนั้นเรื่องพัฒนาการจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจศึกษา



องค์ประกอบที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ คือ
1. พันธุกรรม (Heredity)
2. วุฒิภาวะ (Maturation)
3. การเรียนรู้ (Learning)
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)

1. พันธุกรรม คือ ลักษณะต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางพฤติกรรมที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
 การถ่ายทอดนี้ผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ลักษณะต่าง ๆ จากพ่อและแม่จะถ่ายทอดไปสู่ลูก
โดยทางเซลล์สืบพันธุ์นี้ ซึ่งเรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) สำหรับมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่
 หรือ 46 ตัวมีอยู่คู่หนึ่งที่ทำหน้าที่กำหนดเพศหญิงหรือเพศชาย

อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อมนุษย์คือ เป็นตัวกำหนดเพศ รูปร่าง ชนิดของโลหิต สีผม ผิว ตา และระดับ
สติปัญญาเป็นต้น นักจิตวิทยาหลายคน เช่น แอนนาตาซี (Anastasi) ได้กล่าวว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อ
การพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีน (Gene) ที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดให้
แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่แตกต่างกันส่วนใหญ่แล้วพันธุกรรมจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายมาก
ที่สุด 










2. วุฒิภาวะ เป็นกระบวนการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของบุคคลโดย
ไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดหรือประสบการณ์ใด ๆ เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การเปล่งเสียง ซึ่งเป็นพื้นฐาน
ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นไปตามปกติเมื่อถึงวัยที่สามารถจะกระทำได้

3. การเรียนรู้ เป็นพัฒนาการที่เกิดจากประสบการณ์และการฝึกหัด หรือความสามารถทางทักษะอย่างหนึ่ง
อย่างใดโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกหัดเป็นพื้นฐานสำคัญ ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจ
เรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้
เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่องความพร้อมนักจิตวิทยาได้บ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
     3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า
 ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่
จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" 
เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย
 และความเบื่อหน่าย เป็นต้น 

     3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้าม
กับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์
อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อม ได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มี
ช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับตัว เป็นอย่างมาก

4. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น ๆ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อม
ยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม 
ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น 

พัฒนาการของมนุษย์


ที่มา:https://sites.google.com/site/witchakorn1234/bth-thi1

บทที่ 2 ชีวิต และครอบครัว

บทที่ 2 ชีวิต และครอบครัว


2.1การวางแผนชีวิตและครอบครัว
1.การวางแผนก่อนแต่งงาน การศึกษาชีวิตครอบครัวคือมาตรการทางการศึกษาที่จะเตรียมประชาชนให้พร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่างๆเช่นปัญหาเกี่ยวกับร่างกาย จิตใจ สังคม และศีลธรรม ซึ่งมีผลต่อการสมรสและครอบครัว
     1. ความพร้อมทางร่างกาย 
     2. ความพร้อมทางจิตใจ 
     3. ความพร้อมทางสังคม 
     4. ความพร้อมทางเศรษฐกิจ
2.การวางแผนครอบครัว มี 3 แบบ คือ
    1.การเร่งกำเนิด คือ การที่แพทย์ช่วยให้คู่สมรสที่มีบุตรยาก มีบุตรได้ตามต้องการ
     2.การเลือกกำเนิด คือ การเลือกเพศของบุตรที่จะมี โดยทำตามคำแนะนำของแพทย์
    3.การคุมกำเนิด หรือ การชะลอการเกิด คือ การป้องกันการปฏิสนธิ มิให้ไข่ในรังไข่ของเพศหญิง
 ประโยชน์การวางแผนครอบครัว ช่วยให้คู่สมรสได้มีเวลาปรับตัวก่อนมีบุตร ช่วยให้มีลูกไม่มากทำให้เลี้ยงดูบุตร ได้ดี มีการศึกษาสูงช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีสมฐานะและมีความสุข
   2.1 การคุมกำเนิด มี 2 วิธีคือ
           1.การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว เพื่อเว้นช่วงการมีบุตร เมื่อเลิกคุมกำเนิดก็สามารถมีบุตรได้ตามปกติได้แก่ การกินยาคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย การฉีดยาคุมกำเนิด การใช้ถุงยางอนามัย ฯลฯ
           2.การคุมกำเนิดแบบถาวร ใช้ในกรณีครอบครัวที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกแล้ว ได้แก่ การทำหมันชาย การทำหมันหญิง
     2.2 การทำหมันหญิงมี 2 วิธีคือ 
               2.2.1 หมันเปียก 
               2.2.2 หมันแห้ง
การคุมกำเนิด หรือการป้องกันไม่ให้มีลูกทำได้โดยการไม่ให้เชื้ออสุจิของชายเข้าไปผสมกับไข่ของหญิงการคุมกำเนิดมีหลายวิธีดังนี้
                     1.ยาเม็ดคุมกำเนิด วิธีรับประทานยา1แผงมี28เม็ดให้รับประทานดังนี้
1เริ่มรับประทานยาเม็ดแรกที่ลูกศรช ี้
ในวันที่5นับจากมีประจำเดือนโดยไม่คำนึงว่าประจำเดือนหมดหรือยัง
                    2ให้รับประทานวันละ 1 เม็ดก่อนนอนหรือหลังอาหารเย็น
                    3ถ้ายาหมดแล้วให้รับประทานยาแผงใหม่ในวันรุ่งขึ้น
                    4.การใส่ห่วงอนามัย เหมาะกับคนที่เคยมีบุตรแล้ว ห่วงจะถูกสอดใส่เข้าไว้ในโพรงมดลูกโดยแพทย์หรือพยาบาลหรือผดุงครรภ์อนามัย ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
                    5.การฉีดยาคุมกำเนิด ฉีดครั้งหนึ่งมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้ถึง 3 เดือน
                    6.ถุงยางอนามัย
                    7.การทำหมันหญิง
                    8.การทำหมันชาย

ชีวิต และครอบครัว



ที่มา:https://sites.google.com/site/witchakorn1234/bth-thi2-1


บทที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย เกม กีฬาไทย และกีฬาสากล


บทที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย เกม กีฬาไทย และกีฬาสากล


3.1 การออกกำลังกาย


ธรรมชาติสร้างมนุษย์และสัตว์มาเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำถ้าทำการเคลื่อนไหวไม่เพียงพอจะเกิดความปั่นป่วนทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมในที่สุดอาจจะเกิดโรค จนถึงกับเสียชีวิตได้ ตัวอย่างเช่น โรคหัวใจล้ม” (หัวใจวาย) ซึ่งเกิดแก่คนที่นั่งประจำทำงานอยู่กับที่ทั้งวันๆ และไม่ค่อยมีโอกาสออกกำลังกายนอกจากนี้ก็มีโรคธาตุเสียโรคท้องผูก เรื้อรัง ตลอดจนโรคประสาท กล่าวโดยทั่วไปคนที่มีการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังไม่เพียงพอย่อมมีสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ไม่สมบูรณ์ถ้าได้ออกกำลัง เสียบ้างก็อาจจะแก้ไขภาวะ ที่ผิดปกติเพื่อ ความสมบูรณ์ ของร่างกายและช่วยให้อายุยืนยาวขึ้นได้ การออกกำลังนี้ต้องจัดให้เหมาะกับภาวะของร่างกาย เช่น เกี่ยวกับเพศและความเข็งแรงที่มีอยู่โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ถ้าจัดไม่เหมาะ ก็อาจจะไม่ได้ผลที่ต้องการ หรืออาจจะได้ผลร้าย ดังนั้น จึงต้องทำการตรวจสอบร่างกาย เสียก่อนประกอบกับต้องทดสอบ ผลของการฝึกซ้อมเป็นระยะๆ ไปเพื่อจะได้สามารถปรับปรุงระยะ การออกกำลัง ให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกายอยู่เสมอ  การออกกำลังที่ทำโดยถูกต้องแก่ร่างกายเสมอ ในเด็กๆ การออกกำลังทำให้ร่างกายเจริญเติบโตสมวัย ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังมักมีร่างกายเล็กแคระและขี้โรคในวัยหนุ่มสาว การออกกำลังยังช่วยให้ระบบประสาทและจิตใจทำงานได้ดีเป็นปกติอีกด้วยสำหรับผู้อยู่ในวัยชรา


 การออกกำลังจะช่วยป้องกันและรักษาอาการและโรคที่เกิดในวัยชราหลายอย่าง เช่น อาการเมื่อยขบ หรือ อาการท้องผูกเป็นประจำ ตลอดจนความรู้สึกวิงเวียนหน้ามือเพราะการไหลเลือดไม่เพียงพอในทุกๆ วัย การออกกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระทำใน กลางแจ้ง ช่วยเพิ่ความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้ไม่ค่อยเจ็บไข้และช่วยให้สุขภาพของร่างกาย อยู่ในเกณฑ์สูง ในอีกทางหนึ่ง การออกกำลังก็อาจให้โทษได้ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อออกกำลังโดยไม่เหมาะ เช่น ทำหนักเกินไป หรือยากเกินไปในวัยสูงอายุ จะออกกำลังเป็นประจำ หรือเล่นกีฬาอะไรที่ค่อนข้างหนัก ควรจะให้แพทย์ตรวจร่างกาย เสมอ กับให้ตรวจสอบเป็นระยะๆ ไปเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งเป็นไปตามวัยด้วย

เหตุควรระวังและเหตุห้ามการออกกำลัง
สำหรับคนทั่วไปควรงดการออกกำลังชั่วคราวในภาวะต่อไปนี้
      1.ไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นไข้หรือมีอาการอักเสบส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ      2.หลังจากรับประทานอาหารอิ่มมากมาใหม่ ๆ      3.ในเวลาที่อากาศร้อนจัดและอบอ้าวมาก

สาเหตุ   ที่ต้องห้ามการออกกำลังที่สำคัญสำหรับคนทั่วไปคือ โรคหัวใจคนที่กำลังเป็นโรคหัวใจจะออกกำลังไม่ได้นอกจากแพทย์จะสั่งและต้องทำตามแพทย์โดยเคร่งครัด ผู้ที่พ้นระยะอันตรายมากแล้วก็เช่นเดียวกัน ต้องให้แพทย์อนุญาตก่อนจึงจะทำการออกกำลังได้ ส่วนผู้ที่เพียงแต่สงสัยว่าตัวเป็นโรคหัวใจก็ต้องให้แพทย์ตรวจสอบให้แน่นอน เสียก่อนเช่นเดียวกันโรค ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งอาจจะขัดขวางการออกกำลัง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เป็นข้อห้ามเสมอไป ผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องขอความเห็น จากแพทย์ ผู้รักษา ก่อนเสมอโรคเบาหวานโดยตัวเองไม่เป็นเหตุขัดขวางการออกกำลังแท้จริงในบางระยะ การออกกำลังเป็นวิธีช่วยการรักษาทางยาอีกด้านหนึ่งด้วย แต่ในบางระยะการออกกำลังอาจไม่เหมาะ ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนจะเริ่มต้นออกกำลังและไปให้แพทย์ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ สำหรับผู้สูงอายุมีอันตราย ที่ต้องนึกถึงอีกอย่างหนึ่งคือความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแข็ง ดังนั้น ผู้ที่อายุเกิน 50 ปีไปแล้วก่อนจะออกกำลังเป็นประจำจึงต้องให้แพทย์ตรวจสอบร่างกายเสียก่อน

หลักของการออกกำลังเพื่อสุขภาพ  การออกกำลังที่ถูกต้อง ต้องดำเนินไปตามหลักต่อไปนี้
 
       1.ต้องใช้วิธีค่อยไป คือ เริ่มต้นด้วยปริมาณและการออกกำลังง่ายๆ ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นและเพิ่มความยากขึ้นเป็นลำดับตามไปกับร่างกายที่เจริญขึ้น
         2.ต้องให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลัง ไม่ควรให้เป็นแต่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มิฉะนั้นผลที่ได้จะไม่ดีและอาจทำเหตุยุ่งยากได้หลายอย่าง        3.การออกกำลังควรทำโดยสม่ำเสมอ จะทำทุกวันหรือทุก 2 วันหรือ 3 วันก็ได้แล้วแต่เหตุการณ์และความสะดวกแต่ควร ทำเรื่อยๆ ตามกำหนดที่วางไว้ อนึ่ง ถ้าไม่มีเหตุขัดข้องจำเป็นควรทำในเวลาเดียวกันทุกครั้งอาจจะเป็นเวลาเช้า เมื่อตื่นนอนหรือเวลาบ่ายหรือค่ำก็ได้

ในการออกกำลังเพื่อสุขภาพ ควรทำการตรวจสอบตัวเองอยู่เป็นระยะๆ เพื่อจะได้ทราบว่าการออกกำลังนั้นได้ผลเพียงใด นอกจากนั้นก็ควรไปหาแพทย์เพื่อทำการทดสอบ เป็นครั้งคราวเพื่อรับคำแนะนำว่าสมควรจะเปลี่ยนแปลงระบบการออกกำลังที่ใช้อยู่หรือไม่ การทดสอบที่ควรทำเองได้มีดังต่อไปนี้

1. การชั่งน้ำหนัก

ถ้าหากมีเครื่องชั่งน้ำหนักประจำบ้านก็จะมีประโยชน์มากสำหรับทุก ๆ คนเพราะน้ำหนักตัวช่วยแสดงความสมบูรณ์ของร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเด็ก ที่กำลังเติบโต น้ำหนักตัวต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และโดยสม่ำเสมอ ถ้าเมื่อใดน้ำหนักตัวหยุดเพิ่มหรือลดลง ก็แสดงว่าร่างกายไม่เป็นปกติอาจมีโรคบางอย่างรบกวนหรือมีเหตุอื่น สำหรับผู้ใหญ่น้ำหนักตัวไม่ใคร่จะเปลี่ยนแปลงมากถ้าน้ำหนักตัวลดก็อาจจะมีโรคแอบแฝงอยู่ถ้าน้ำหนักตัวขึ้นก็แปลว่ากำลังจะอ้วนขึ้น ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติตัวไม่ถูก เช่น กินอาหารมากเกินไป หรือออกกำลังหรือทำงานน้อยเกินไป ทั้งนี้ หมายความถึงคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติถ้าผู้ที่น้ำหนักตัวต่ำไป การเพิ่มของน้ำหนักก็แสดงว่าปฏิบัติ ถูกต้องดีขึ้น การชั่งน้ำหนักหากทำได้สะดวกควรชั่งทุกสัปดาห์ และถ้าไม่สะดวกอาจจะชั่งทุก 2 สัปดาห์หรือทุกเดือนก็ได้

2. การนับชีพจรการนับชีพจรเป็นวิธีทดสอบที่ทำง่ายและมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนั้น ทุกคนจึงควรหัดจับชีพจรของตัวเอง อาจจะวานแพทย์หรือนางพยาบาล ที่รู้จักกันช่วยสอน ให้ก่อน หรือจะหัดโดยตนเองก็พอทำได้สิ่งที่ต้องการ คือ นาฬิกาที่มีเข็มวินาทีตำแหน่งอาจจับชีพจรได้ง่ายที่สุดที่ข้างใดข้างหนึ่งของลูกกระเดือก ขั้นต้นคลำหา ลูกกระเดือกให้พบก่อน (ถ้ามองไม่เห็น เช่น ในผู้หญิง) แล้วเอาปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดลงไปข้างๆ จะรู้สึกว่ามีหลอดเลือดเต้นกระเทือนปลายนิ้ว ลองนับการเต้น ของหลอดเลือดนั้นไปจนกระทั่ง ตามได้ถูกต้องจึงดูนาฬิกาที่เข็มวินาทีและเริ่มต้นนับ 1 เมื่อปลายเข็มวินาทีถึงขีดใดหนึ่งที่สังเกตได้ง่ายนับเรื่องไปจนครบ 10 วินาที เอา 6 คูณก็จะได้จำนวนครั้งใน 1 นาที (วิธีนี้บางคนอาจบอกว่าไม่แม่นยำเพราะมีโอกาสผิดหลายทาง แต่เป็นวิธีที่สะดวกและให้ความแม่นยำพอกับความประสงค์ในที่นี้) ควรหัดจับชีพจรในขณะนอน ขณะนั่ง และขณะยืน จนกระทั่งได้ผลสม่ำเสมอ (สังเกตว่าในอิริยาบถทั้งสามนี้ชีพจรอาจจะเร็ว ไม่เท่ากัน) เมื่อทำได้ดีแล้วจึงหัดจับชีพจร ภายหลังที่ออก กำลังพอสมควร เช่น วิ่งไปมาหรือขึ้นบันไดเร็วๆ ซึ่งจะทำให้ชีพจรเร็วขึ้น และการจับก็ยากขึ้นด้วยถ้าหัดบ่อยๆ ก็จะสามารถจับชีพจรได้จนกระทั่งเร็ว ถึงนาทีละ 200 ครั้ง ควรมีสมุดประจำตัว และจดอัตราชีพจรที่จับได้ไว้เป็นประจำเวลาที่ควรจับชีพจร เป็นประจำคือเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าและก่อนจะลุกขึ้น ควรจะจับ แล้วจดไว้ทุกวันหรือทุก 2 – 3 วันโดยสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงในอัตรานี้จะช่วยบอกความก้าวหน้าหรือถอยหลังในสภาพของร่างกายเกี่ยวกับการออกกำลังได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ถ้าร่างกายแข็งแรงขึ้น อัตราชีพจรจะลดลง ถ้าร่างกายอ่อนแอลง อัตราชีพจรจะเพิ่มขึ้นเวลาอื่นที่ควรนับชีพจรและจดไว้ถ้าหางกเห็นสมควร คือ เวลาที่จะเริ่ม ออกกำลัง และในทันทีที่หยุดออกกำลังจะนับในขณะนั่งหรือยืน ก็ได้ แต่เพื่อจะเปรียบเทียบกัน ต้องนับในท่าเดียวกันเสมอ เพราะนับในท่าต่างกันอาจได้ผลไม่ตรงกัน ถ้าหากจะนับชีพจรในนาทีที่ครบ 6 หลังจากเลิกออกกำลังกายจดไว้ด้วย ก็จะได้ตัวเลขที่แสงดถึงการฟื้นตัวจากการออกกำลังดีขึ้น หรือเลวลงอีกทางหนึ่ง วิธีนับชีพจร อีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้แพร่หลาย (แต่อาจไม่สะดวก ในระหว่างการออกกำลังกายบางอย่าง) คือ จับที่ข้อมือสำหรับนับตัวเอง (ถ้าผูกนาฬิกาที่ข้อมือซ้าย) ให้งอแขนซ้ายที่ข้อศอกในท่าดูนาฬิกาหงายมือขวาเอานิ้วชี้และนิ้วกลาง (หรือนิ้วกลางและนิ้วนาง) แตะที่ใต้ แขนซ้ายด้านล่าง ใกล้ขอบข้างเดียวกับนิ้วหัวแม่มือเหนือจากปุ่มกระดูกข้อมือ เล็กน้อย ดันปลายนิ้วให้กดกับกระดูกจากข้างล่าง (อาจจะใช้นิ้วหัวแม่มือกดข้างบน เพื่อจับข้อมือซ้ายให้อยู่กับที่ก็ได้) ขยับนิ้วทั้งสองเล็กน้อยจนกระทั่งรู้สึกการเต้นของหลอดเลือดและนับเทียบกับเวลาเช่นในวิธีแรก (ควรผูกนาฬิกาให้สูงขึ้นไปกว่าปกติ)อาการที่แสดงว่าควรหยุดการออกกำลัง

ในบางกรณีที่ร่างกายอ่อนแอลงไปชั่วคราว เช่น ภายหลังท้องเสียหรืออดนอน การออกกำลังที่เคยทำอยู่จนกลายเป็นหนักเกินไป ในกรณีเช่นนั้นจะรู้สึกมีอาการต่อไปนี้ อย่างเดียว หรือหลายอย่างร่วมกัน คือ1. ความรู้สึกเหนื่อยผิดธรรมดา2. อาการใจเต้น3. อาการหายใจขัดหรือหายใจไม่ทั่วท้อง .4. อาการเวียนศีรษะ5. อาการคลื่นไส้ .6. อาการหน้ามืด7. ชีพจรเร็วกว่า 140 ครั้งต่อนาที (สำหรับผู้สูงอายุ) หรือ 160 ครั้งต่อนาที (สำหรับคนหนุ่มสาว) เมื่อมีอาการอย่างใดเกิดขึ้น ต้องหยุดการออกกำลัง ทันที และลงนั่งพักหรือนอนราบจนหายเหนื่อยไม่ควรออกกำลังต่อไปอีกจนกว่าจะได้ไปหาแพทย์ให้ทำการตรวจสอบร่างกายเสียก่อน
 


 การออกกำลังกาย

ที่มา:https://sites.google.com/site/witchakorn1234/bth-thi3

บทที่4 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

บทที่4 กราสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 


4.1 การส่งเสริมสุขภาพ







 
การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ความหมายของสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ
สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์และความสมดุลของบุคคลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาวะที่ปราศจากโรคและความพิการ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างปกติสุข การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขอบเขตของสุขภาพ จากความหมายของสุขภาพดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าคนและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันซึ่งนำไปสู่สภาวะสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพเป็นมิติหนึ่งของสุขภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลเพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
การดูแลสุขภาพตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสมรรถภาพทางกาย
การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลกระทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการเกิดโรคและการเจ็บป่วย การรักษาอาการผิดปกติและการเจ็บป่วย  
การดูแลสุขภาพตนเองแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การดูแลสุขภาพตนเองในภาวะปกติ
2. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อรู้สึกว่าผิดปกติ
3. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วยและได้รับการกำหนดว่าเป็นผู้ป่วย

ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ
1. มีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำให้ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข
2. โอกาสเกิดโรค การเจ็บป่วย และความผิดปกติต่างๆมีน้อยมาก
3. ไม่เสียเวลาในการเรียน เนื่องจากไม่เจ็บป่วย
4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ
5. มีพัฒนาการทางด้านร่างกายเป็นไปตามปกติ




4.2 การควบคุมและป้องกันโรค
การควบคุมและป้องกันโรค ได้มีการพัฒนามาโดยต่อเนื่องเริ่มด้วยการนำเอาข้อสังเกต
และสมมติฐานจากลักษณะการเกิดโรค การแพร่กระจายของโรค และอาการสำคัญของผู้ป่วยในชุมชนมาใช้
ประกอบการควบคุมและป้องกันโรค ต่อมาได้มีการนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการค้นคว้า ศึกษา และวิจัย
ในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และภาวะสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรค
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถกำจัดและกวาดล้างโรคติดต่อที่ร้ายแรงบางโรคให้หมดไปได้ ซึ่งสามารถแบ่งการควบคุมและป้องกันโรคออกได้เป็น ระดับ ดังนี้
ระดับที่ การป้องกันโรคล่วงหน้า (Primary Prevention)
ระดับที่ การป้องกันในระยะมีโรคเกิด (Secondary Prevention)
ระดับที่ การป้องกันการเกิดความพิการและการไร้สมรรถภาพ (Tertiary Prevention)
1. การป้องกันโรคล่วงหน้า คือ การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิด เป็นวิธีการที่
ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด และได้ผลมากที่สุดกว่าการป้องกันและควบคุมโรคระดับอื่น ๆ วัตถุประสงค์หลักของการป้องกันโรคล่วงหน้า คือ การปรับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือการ
ปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองประการร่วมกัน เพื่อให้เกิดภาวะที่โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ โดยการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกัน มิให้มีพาหะ
และสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรค โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ที่มี
อยู่ในชุมชนหมดไป ซึ่งกิจกรรมในการป้องกันโรค ล่วงหน้ามีดังนี้
    1.1 การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการป้องกันโรค การเปลี่ยนแปลง 


ทัศนคติ และการปฏิบัติงานให้ถูกหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลและชุมชน
    1.2 การจัดโภชนาการให้ถูกต้องตามมาตรฐาน เหมาะสมกับกลุ่มอายุและภาวะ
ความต้องการของบุคคล เช่น ทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยชรา หญิงมีครรภ์ แม่ระยะให้นมลูก หรือผู้ป่วย
ด้วยโรคบางชนิดที่มีความต้องการอาหารพิเศษเฉพาะโรค
    1.3 การให้ภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ โดย
การใช้วัคซีน เช่น การให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเล็กที่จำเป็นต้องได้รับสำหรับการป้องกันโรคคอตีบ
ไอกรน บาดทะยัก ไข้ไขสันหลังอักเสบ หรือโรคโปลิโอ และวัณโรค และการให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นเสริม ซึ่งได้แก่ กลุ่มชนอายุต่าง ๆ ตามความจำเป็นและโอกาสที่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ การให้ภูมิคุ้มกันโรคอหิวาต์ ไข้ไทฟอยด์ ไข้สมองอักเสบ ไข้หัด เป็นต้น
    1.4 กิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง การสนใจ การสังเกตถึง
การเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้เพื่อจะให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี
สุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
    1.5 การจัดที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ การจัดหาสถานพักผ่อนหย่อนใจในชุมชน
ได้เพียงพอ การจัดสถานที่สันทนาการ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น รวมทั้งสถานที่สำหรับประกอบอาชีพที่
ปลอดภัยและเหมาะสม
    1.6 การจัดหรือปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดหาน้ำสะอาด
การกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลอาหาร เครื่องดื่ม นม การกำจัดหรือควบคุมมลพิษ การกำจัด
หรือควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค และการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ
    1.7 การจัดบริการให้ความปลอดภัยในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ ภัยจากการ
ประกอบอาชีพ การจราจร การเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ
    1.8 การจัดให้มีบริการด้านการตรวจสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็ก
หรือเด็กนักเรียนซึ่งกำลังเจริญเติบโต เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
    1.9 การจัดให้มีบริการด้านให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา การสมรส
การส่งเสริมสุขภาพจิต ความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรม การป้องกันโรค และการโภชนาการ

2. การป้องกันในระยะมีโรคเกิด คือการป้องกันโรคล่วงหน้าระดับที่ ในกรณีที่
การดำเนินงานระดับที่ ยังไม่ได้ผล ทำให้มีโรคเกิดขึ้น ดังนั้น ความมุ่งหมายที่สำคัญของการป้องกัน
โรคในระยะมีโรคเกิด คือการระงับกระบวนการดำเนินของโรค การป้องกันการแพร่เชื้อและระบาดของโรค
ไปยังบุคคลอื่นในชุมชน และการลดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนให้น้อยลงและหายไปให้เร็วที่สุด ซึ่งกิจกรรมการป้องกันระยะมีโรคเกิด มีดังนี้
    2.1 การค้นหาผู้ป่วยให้ได้ในระยะเริ่มแรก นับว่าเป็นการป้องกันและควบคุมโรคที่ดี
และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะในกรณีโรคที่เกิดขึ้นเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและสามารถแพร่โรค
ไปยังบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ไข้ทรพิษ ไข้หวัดใหญ่ อหิวาตกโรค ไข้หัด โรคคอตีบ ไข้ไขสันหลังอักเสบ (โปลิโอ) และไข้รากสาดน้อย เป็นต้น การที่สามารถค้นหาผู้ป่วยโรคเหล่านี้ได้ในระยะ
เริ่มแรกที่มีอาการและโรคยังไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ทำให้สามารถระงับกระบวนการดำเนินของโรคได้ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง และสามารถป้องกันมิให้โรคติดต่อไปยังผู้อื่น รวมทั้งสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อน
และผลเสียที่อาจเกิดตามมา เป็นผลให้เกิดการไร้สมรรถภาพและความพิการลดน้อยลงได้
    2.2 การวินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้ทันที โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหากได้รับการ
วินิจฉัยได้ถูกต้องและรวดเร็ว จะสามารถช่วยให้การรักษาโรคถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีผลให้ความเจ็บป่วยหายได้รวดเร็ว และสามารถป้องกันผลเสียและโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามมาได้เป็นอย่างดี และการรักษายังมีผลในด้านการกำจัดแหล่งแพร่โรคหรือบ่อเกิดโรค ซึ่งอยู่ในตัวผู้ป่วยได้ด้วย
    2.3 การป้องกันการแพร่เชื้อ มีความจำเป็นมากสำหรับโรคติดต่อแพร่กระจาย
ไปสู่บุคคลอื่นในชุมชน โดยปะปนไปกับอาหาร น้ำ และแมลงนำโรคชนิดต่าง ๆ ดังนั้นการดำเนินการเกี่ยวกับ
การกำจัดเชื้อที่อยู่ในน้ำ อาหาร สิ่งแวดล้อมที่เป็นสื่อนำโรค โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค การทำน้ำให้สะอาดปราศจากเชื้อ โดยเติมสารฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ตลอดจนการสุขาภิบาลอาหารและสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะป้องกันการแพร่เชื้อโรค
    2.4 การเพิ่มความต้านทานหรือป้องกันโรคให้แก่บุคคลหรือชุมชน เพื่อให้บุคคล
ในชุมชนมีความต้านทานต่อโรคที่เกิดขึ้น ที่สามารถจะป้องกันได้โดยการใช้วัคซีน เช่น การฉีดวัคซีน
ป้องกันอหิวาตกโรค วัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบในระยะที่เกิดการระบาดของโรคขึ้น
ควบคู่ไปกับการให้สุขศึกษาแก่ชุมชน เมื่อมีโรคเกิดขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะในด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับ
การป้องกันมิให้เกิดโรคขึ้น การระมัดระวังในเรื่องอาหาร น้ำ การระวังและหลีกเลี่ยงจากการติดต่อ
หรือสัมผัสกับผู้ป่วย การระมัดระวังในด้านสุขภาพร่างกายเป็นพิเศษ 


    2.5 การใช้กฎหมายสาธารณสุข ในกรณีที่มีโรคติดต่อร้ายแรงเกิดขึ้น และแม้ว่า
จะได้ใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโดยวิธีการต่าง ๆ แล้วแต่ไม่ได้ผล เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือ
จากชุมชนด้วยดี จึงต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาช่วยสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรค
สามารถดำเนินการได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้โรคสงบลงเร็วที่สุด

3. การป้องกันการเกิดความพิการและการไร้สมรรถภาพ คือการรักษาผู้ป่วยที่มี
อาการให้หายโดยเร็ว เพื่อลดผลเสียและโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการเกิดโรค รวมทั้ง
การติดตามสังเกตและให้การป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ การป้องกันในระดับนี้จะรวมถึง
การบำบัดความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วย การดำเนินงานจะเกิดผลดีจะต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 
    3.1 มีวิธีการรักษาโรคที่ดีและมีประสิทธิภาพ
    3.2 มีการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขกระจายอย่างทั่วถึงและมาก
พอที่ประชาชนจะมาใช้บริการได้สะดวก
    3.3 ประชาชนมีความเข้าใจ และรู้จักใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มี
อยู่ให้ถูกต้อง
    3.4 มีการศึกษาวิจัยและค้นคว้าถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่ใช้รักษาโรคให้หายโดยรวดเร็ว
และรักษาต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ เป็นการลดความพิการและการไร้สมรรถภาพที่อาจจะเกิดตามมาให้น้อยลง

 

จากการควบคุมและป้องกันโรคทั้งสามระดับที่กล่าวมาแล้ว จะดำเนินไปได้ด้วยดีและ
มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการสนับสนุนและส่งเสริมจากบุคคล ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนด้านนโยบาย การสนับสนุนด้านการบริหาร การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากร รวมทั้งการสนับสนุนของชุมชนและสังคมด้วย จึงจะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคประสบความสำเร็จ


การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 


ที่มา: https://sites.google.com/site/witchakorn1234/bth-thi4-kra-srang-serimsukh-phap




บทที่่5 ความปลอดภัยในชีวิต

บทที่่5 ความปลอดภัยในชีวิต

5.1ความปลอดภัย
ความปลอดภัยอุบัติเหตุ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือไม่ได้ระมัดระวังมาก่อน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
 และทุกสถานที่
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ความประมาท
- ความคึกคะนอง
- ขาดความรู้หรือความชำนาญ
- ไม่ปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ
- เครื่องมือชำรุด
- อื่นๆ

อุบัติเหตุในบ้าน
อุบัติเหตุในบ้าน เป็นภัยที่เกิดจากความประมาทของสมาชิกในบ้านหรืออาจเกิดจากสภาพบ้าน 

และบริเวณบ้านที่ไม่ดี ตัวอย่างอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้าน ได้แก่ มีดบาด น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าดูด เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน
๑. ไม่วิ่งเล่นกันขณะขึ้นลงบันได
๒. ใช้เครื่องมือเครื่องใช้อย่างระมัดระวังและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย
๓. ไม่เล่นไม้ขีดไฟ และดับไฟทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ
๔. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว
๕. ไม่วิ่งเล่นในสนามหญ้าที่รกร้าง เพราะอาจถูกงูกัด
๖. ถ้าจะกินยา ควรให้ผู้ใหญ่หยิบยาให้
๗. ไม่ทิ้งเศษกระเบื้องหรือของมีคมไว้ตามทางเพราะอาจถูกบาดได้
๘. ไม่ปีนต้นไม้หรือที่สูง เพราะอาจพลัดตกลงมาได้
๙. เมื่อพบสิ่งของในบ้านชำรุด ควรแจ้งให้พ่อแม่ทราบทันที
๑๐. ถ้าบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำควรฝึกว่ายน้ำให้เป็น

อันตรายที่เกิดจากไฟไหม้ไฟไหม้ เป็นเหตุร้ายแรงที่ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก วึ่งสาเหตุส่วนใหญ่
เกิดจากการขาดความระมัดระวังของผู้ใช้ไฟหรือบางครั้ง อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก
 เช่น จุดไม้ขีดเล่น
ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันไฟไหม้
๑. เก็บเชื้อเพลิงหรือวัสดุที่ติดไฟง่ายให้ห่างจากเปลวไฟ
๒. วางไม้ขีดไฟให้พ้นมือเด็ก
๓. ไม่สูบบุหรี่หรือจุดธูปเทียนใกล้ที่นอน
๔. ปิดวาล์วแก๊ส หรือดับไฟให้มอดสนิท
๕. ไม่ควรเสียบปล๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้
๖. หมั่นตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
๗. ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ประจำบ้าน

ความปลอดภัยในการเดินถนนและข้ามถนน
การใช้ถนนบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีความระมัดระวังในการใช้ถนน

 และต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรด้วย เพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นได้




ทุกเวลา

ข้อควรปฏิบัติในการเดินถนนและข้ามถนน
๑. ถนนที่มีทางเท้า ควรเดินบนทางเท้าชิดทางซ้าย แต่ถ้าไม่มีทางเท้าให้เดินชิดทางขวา
๒. การเดินถนนเงลากลางคืน ควรสวมใส่เสื้อผ้าสีสว่าง หรืออาจถือไฟฉายส่องทางด้วย
๓. ไม่วิ่งเล่นหรือหยอกล้อกันบนถนน
๔. ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
๕. ถ้าจูงเด็ก ต้องให้เด็กเดินทางด้านในของขอบทางเสมอ
๖. ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอย หรือบริเวณที่มีสัญญาณไฟจราจร
๗. ขณะรอข้ามถนนควรมองขวา มองซ้าย และมองขวาอีกครั้ง เมื่อถนนว่างแล้วจึงเดินข้าม
๘. ขณะข้ามถนน ต้องรีบเดินอย่างระมัดระวัง ไม่วิ่ง หรือหยุดเก็บสิ่งของกลางถนนถ้าหากทำสิ่งของ
หล่น
ความปลอดภัย
อุบัติเหตุจากการเดินทางทางน้ำ

การเดินทางทางน้ำ เป็นการเดินทางด้วยเรือต่างๆ ถ้าหากเราขาดความระมัดระวังในการเดินทาง

 อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
อุบัติเหตุจากการเดินทางทางน้ำ มีหลายอย่าง เช่น เรือล่ม ผู้โดยสารจมน้ำ เป็นต้น 

ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
๑. มีการบรรทุกผู้โดยสารเกินอัตราที่กำหนด

๒. ผู้ขับเรือเกิดความประมาท ขาดความชำนาญ หรือไม่เคารพกฎจราจรทางน้ำ
๓. ผู้โดยสารขาดความระมัดระวังในการขึ้นเรือ หรือลงเรือ
๔. สภาพของเรือ และเครื่องจักรกลชำรุดทรุดโทรม
๕. เกิดพายุ คลื่นลมแรง หรือมีสิ่งกีดขวางใต้น้ำ
ข้อควรปฏิบัติขณะเดินทางทางน้ำ
๑. ขณะรอลงเรือ ควรรอที่ฝั่งหรือบนท่า
๒. ขณะขึ้นหรือลงเรือ ควรรอให้เรือจอดเทียบท่าเรียบร้อยก่อน
๓. เมื่อลงเรือแล้วควรเดินเข้าไปในตัวเรือไม่ควรนั่งที่กราบเรือ และไม่ยื่นแขนหรือขาออกนอกตัวเรือ
๔. ถ้าโดยสารเรือทางไกลควรสวมเสื้อชูชีพทุกครั้ง
๕. ผู้ที่โดยสารเรือเป็นประจำ ควรมีทักษะในการว่ายน้ำ
๖. ไม่ควรโดยสารเรือที่บรรทุกน้ำหนักเต็มอัตราแล้ว


ความปลอดภัย
การปฏิบัติตามกฎจราจร

ในการเดินทาง บางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย

 เราทุกคนควรปฏิบัติตามกฎจราจร   เวลาข้ามถนน เราควรข้ามตรงทางม้าลาย 
หรือบริเวณที่มีสัญญาณไฟ
- สัญญาณไฟแดง รถหยุดวิ่ง คนข้ามถนนได้
- สัญญาณไฟเหลือง รถเตรียมหยุด
- สัญญาณไฟเขียว รถแล่นได้ คนห้ามข้ามถนนเด็ดขาด
นอกจากนี้ บริเวณทางข้ามหรือทางแยกบางแห่ง ก็มีสัญญาณไฟจราจรสำหรับคนข้ามถนนติดตั้งไว้

ควบคู่กับสัญญาณไฟจราจร เพื่อใช้เป็นสัญญาณบอกให้คนข้ามถนน ให้ปฏิบัติได้ถูกต้องและปลอดภัย
- สัญญาณคนแดง ให้คนเดินหยุดรออยู่ยนทางเท้า
- สัญญาณคนเขียว ให้คนเดินข้ามถนนได้
- สัญญาณคนเขียวกระพริบ ให้คนที่กำลังข้ามถนนอยู่รีบข้ามโดยเร็ว ถ้ายังไม่ข้ามให้หยุดรอบนทางเท้า

ก่อน
เครื่องหมายจราจร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับและเครื่องหมายจราจร

ประเภทเตือน
- เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับ
ป้ายห้ามแซง ป้ายให้เลี้ยวขวา ป้ายให้ทาง ป้ายห้ามเข้า ป้ายห้ามจอด ป้ายให้เลี้ยวซ้าย ป้ายหยุด
- เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน
ป้ายทางขรุขระ ป้ายวงเวียนข้างหน้า ป้ายทางข้ามรถไฟ ป้ายทางโค้ง ป้ายทางแยก ป้ายทางลื่น

 ป้ายช่องทางจราจรลดลง ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก
การเดินบนถนนให้ปลอดภัย ควรปฏิบัติ ดังนี้
๑. เดินบนทางเท้า และชิดด้านในเสมอ
๒. ถ้าไม่มีทางเท้า ควรเดินชิดไหล่ทางด้านขวา เพื่อให้เห็นรถที่วิ่งสวนมา
๓. สวมใส่เสื้อผ้าสีสว่างขณะเดินบนถนนเวลากลางคืน เพื่อให้ผู้ขับขี่เห็นได้ชัดเจน
๔. ไม่วิ่งเล่น หรือผลักเพื่อนขณะเดินตามถนน

การปฏิบัติเมื่อไม่มีคนอยู่บ้าน
๑. ก่อนออกจากบ้าน ควรดับไฟหรือปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า
๒. ตรวจตราสิ่งต่างๆ อย่าให้มีสิ่งที่ติดไฟ ถ้ามีควรดับให้หมด
๓. ปิดประตู หน้าต่างให้เรียบร้อย
๔. ใส่กุญแจประตูบ้าน หรือรั้วบ้านให้แน่นหนา


5.2 การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล
ในชีวิตประจำวัน คนเราอาจพบเจอกับผู้ได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ ซึ่งผู้บาดเจ็บเหล่านั้น
ต้องการความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยดังนั้นการช่วยเหลือเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่
ผู้ช่วยเหลือควรทำลองคิดดูสิว่า ถ้าเราพบผู้บาดเจ็บ เราควรทำอย่างไร
๑ ตั้งสติให้มั่นคง ไม่ตกใจกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
๒ ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเราก่อน
๓ พิจารณาว่า เรามีความรู้เพียงพอที่จะช่วยเหลือหรือไม่
๔ พิจารณาผู้บาดเจ็บว่าได้รับบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด และควรช่วยเหลือส่วนใดก่อน
๕ ถ้ามีบาดแผลรุนแรงมาก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
๑ เลือดกำเดาออก
เลือดกำเดาออก เกิดจากการถูกชกต่อย หกล้ม ใช้นิ้วแคะจมูก แล้วทำให้หลอดเลือดฝอยของเยื้อบุ
จมูกฉีกขาด
วิธีปฐมพยาบาล
๑) นั่งนิ่ง ๆ โน้มศีรษะไปข้างหน้าใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชีบีบรูจมูกเข้าหากัน
๒)ไม่ควรนำผ้าหรือสำลียัดเข้ารูจมูกเพื่อห้ามเลือดด้วยตนเอง
๓)ไม่ควรหงายหน้าไปด้านหน้าเพราะเลือดกำเดาจะเข้าไปทางคอเข้ากระเพาะอาหาร 
จนเกิดอาเจียนได้
๒ น้ำร้อนลวก
น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะยกหรือถ่ายเทของร้อน เช่น น้ำต้ม น้ำแกง น้ำมัน เป็นต้น
วิธีปฐมพยาบาล
๑) ถ้าถูกน้ำร้อนลวกไม่รุนแรง ให้แช่บาดแผลในน้ำเย็นสักครู่หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นโปะไว้
 เพื่อลดความร้อนบริเวณนั้น แล้วทายารักษาแผลน้ำร้อนลวก
๒) ถ้าถูกน้ำร้อนลวกรุนแรง ให้รีบพาผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที
๓) สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
สิ่งแปลกปลอม เช่น เศษฝุ่นละออง ขนตา เป็นต้น เข้าไปในเปลือกตาหรือลูกตา 
แล้วเกิดอาการระคายเคือง เจ็บตา น้ำตาไหล
วิธีปฐมพยาบาล
๑) ไม่ควรขยี้ตา ให้ลืมตาในน้ำสะอาดแทนแล้วกรอกตาไปมาจนสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา
๒) ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมอยู่ ให้เปิดเปลือกตาขึ้น ใช้มุมผ้าบางๆ ที่สะอาดหรือใช้สำลีพันปลายไม้
เขี่ยออก
๓) ถ้าสิ่งแปลกปลอมฝังคาอยู่ในตา ไม่ควรเขี่ยออก แต่ให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดตาแล้วรีบนำ
ส่งโรงพยาบาล
๔ ผู้บาดเจ็บถูกควันหรือไอพิษ
ผู้บาดเจ็บสูดดมก๊าซหุงต้น ควันแอมโมเนียจากเครื่องทำความเย็นไอเสียจากรถยนต์ 
และควันจากเพลิงไหม้
วิธีปฐมพยาบาล
๑)ให้รีบพาผู้บาดเจ็บหนีออกมาอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
๒) ถ้าผู้บาดเจ็บแสบตา มีน้ำตาไหลให้ใช้น้ำสะอาดล้างตามาก ๆ
๓) ถ้าผู้บาดเจ็บหายใจไม่ออกควรรีบทำการผายปอดให้ผู้ป่วยทันทีแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
๕ ผู้บาดเจ็บโดนสารเคมี
สารเคมี เช่น โซดาไฟ น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น อาจมาถูกผิวหนังแล้วทำให้ผู้ที่ถูกสารเคมีเกิดอาการ
ต่าง ๆ เช่น ผิวหนังปวดแสบปวดร้อนและบวม เป็นแผลไหม้พุพอง เป็นต้น
วิธีปฐมพยาบาล
๑) ถ้าสารเคมีถูกเสื้อผ้า ให้ถอดหรือตัดเสื้อผ้าส่วนนั้นออกโดยเร็ว
๒) ถ้าสารเคมีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด แล้วไปพบแพทย์
๓) ถ้าสารเคมีโดนผิวหนัง ให้แช่หรือจุ่มอวัยวะส่วนนั้นลงในอ่างหรือเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลชะล้าง
ตรงบริเวณนั้นนาน ๆ
๔) ถ้าบาดแผลไม่ลึกให้ทำแผล แต่ถ้าลึกมากควรรีบไปพบแพทย์
๖ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่ประสบอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่สำคัญมากผู้ให้การ
ปฐมพยาบาลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและต้องไม่ให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายเพิ่มมากขึ้น
วิธีเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพของผู้บาดเจ็บ และอาการ
ของผู้บาดเจ็บ ดังนี้
๑)ถ้าผู้บาดเจ็บเป็นเด็กหรือเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่มาก ให้ใช้วิธีอุ้มไป
๒) ถ้าผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อยและรู้สึกตัวดี ให้ผู้ปฐมพยาบาลจับแขนของผู้บาดเจ็บพาดบ่า 
ใช้มืออีกข้างหนึ่งโอบเอวและพยุงเดิน โดยก่อนเคลื่อนย้ายต้องบอกผู้บาดเจ็บเสมอว่าจะไปทาง
ด้านใด
๓)ถ้าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวและใช้แขนทั้งสองได้ใช้วิธีอุ้มประสานแคร่ คือ ผู้ให้การปฐมพยาบาลใช้มือขวา
จับที่ข้อมือซ้ายของตน และใช้มือซ้ายจับที่ข้อมือขวาของผู้ปฐมพยาบาลอีกคน แล้วให้ผู้บาดเจ็บนั่ง
 เอาแขนพาดจับบ่าผู้ช่วยเหลือ แล้วให้ผู้ช่วยเหลือเดินหน้าไปทางทิศเดียวกัน



ความปลอดภัยในชีวิต


ที่มา:https://sites.google.com/site/witchakorn1234/bth-thi5-khwam-plxdphay-ni-chiwit